ถ้าจะตีความตามกฏหมายให้ตรงเหมือนไม้บรรทัด ก็คงไม่เกิดประโยชน์แก่บุคคลใด
หากการกระทำใดของผู้จัดทำก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้จัดทำขออภัย
และพร้อมจะแก้ไขให้ถูกต้อง รวมทั้งยอมรับผิด
ถ้าหากเกิดความเสียหายโดยมิได้ตั้งใจ ผู้จัดทำมิได้มีวัตถุประสงค์
ให้เกิดความเสียแก่บุคคลใดลุคคลหนึ่ง
หวังเพียงเป็นประโยชน์ต่อคนที่สนใจเท่านั้น
คงต้องขอเวลา เพื่อปรับปรุบเนื้อเก่า เพื่อตัดส่วนที่มีโอกาศละเมิลลิขสิทธิ์ออกนะครับ
เนื่องจากมีคนกล่าวหาว่าผู้จัดทำได้ละเมิดลิขสิทธิ์ในทรัพสินของผู้อื่น จึงขอชี้แจงดังนี้
1. วัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษา และมิได้หาผลประโยชน์
2.
เนื้อหา และรูปภาพ ทั้งหมดมีการอ้างอิง
และนำมาจากแหล่งข้อมูลที่ที่มีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป
โดยมิกำหนดสิทธิสำหรับสมาชิก
หรือมิได้มีข้อความที่ระบุถึงการห้ามในการอ้างอิง
ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกัน
ที่ผู้เผยแพร่มีวัตถุประสงค์ให้มีการสื่อสารถึงกลุ่มคนให้มากที่สุด
หากก่อให้เกิดความเสียหาย คงจะไม่นำมาเผยแพร่
3.
มิได้มีการนำเนื้อหามาดัดแปลง หรือ ทำซ่ำ
อันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าขอลิขสิทธิ์
หรือก่อให้การเข้าใจผิดถึงเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง
โดยเป็นการรวบรวมหัวข้อ และทำสารบัญเพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูล
ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ยังได้ผลประโยชน์จากการอ้างอิง
เมื่อมีผู้เข้าชมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างสากล
ว่าไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ดังแสดงในหัวข้อที่ 4
4. ตามสนธิสัญญาลิขสิทธิ์ (WIPO Copyright Treaty) และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง (WIPO Performances and Phonograms Treaty)
"นอก
จากนี้
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่อาจถือว่าการเชื่อมโยงข้อมูลแบบลึกไม่เป็นการละเมิด
ลิขสิทธิ์ก็คือ ในการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตนั้น
เจ้าของลิขสิทธิ์ล้วนแต่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลของตนเองให้ปรากฏต่อสาธารณชน
ให้มากที่สุด
และด้วยลักษณะโครงสร้างการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มักจะต้องมีการเชื่อมโยง
ข้อมูล กัน
การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ขึ้นแสดงไว้ในเว็บไซต์จึงอาจถือว่าเจ้าของลิขสิทธิ์
ได้ให้ความยินยอมแก่เจ้าของเว็บไซต์อื่นในการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ของตน
ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยปริยาย (Implied License) ก็ได้ ดังนั้น
การเชื่อมโยงข้อมูลจึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะเจ้าของเว็บไซต์ที่
เชื่อมโยงนั้นได้รับความยินยอมโดยปริยายจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว"
แหล่งที่มา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
http://www.learners.in.th/blog/khoon-frds/437968
อย่างไรก็ตาม ตามมารยาท ก็ควรจะขออนุญาติเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้จัดทำจะพยายมขออนุญาติเจ้าของลิขสิทธิ์ที่สามารถติดต่อได้ในทุกกรณี
และ
จะไม่มีการนำเนื้อหาจากแหล่งที่มีการสมัครสมาชิก และกำหนดสิทธิ์ในการเข้าชม
จะนำมาเฉพาะเนื้อหาที่อนุญาติให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงได้โดยเสรีเท่านั้น
รวมทั้งจะพยายามนำข้อมูลจากเว็บไซด์คนไทยให้น้อยที่สุด
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต ซึ่งอาจทำให้ประโยชน์ลดน้อยลง
แต่ก็เพื่อความสบายใจของคนไทยด้วยกันครับ
5. ตามกฏหมายไทย
ที่ไม่ทันสมัย เพียงการเข้าชมก็ถือว่าผิดลิขสิทธิ์ แล้ว ถ้าจะตีความกัน
คงไม่จบสิ้น
เนื่องจากในการเข้าชมมีขั้นตอนมีการสำเนาเนื้อหาและรูปภาพในเครื่องผู้เข้า
ชม ก่อนการแสดงผล ซึ่งในอนาคตแนวการแก้ไขกฏหมายไทยก็คงจะเป็นตามแนวทางสากล
ในข้อที่ 4
-- พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ --
ประเทศ
ไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อใช้บังคับแทน
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 21 มีนาคม 2538
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์
โดยจัดให้เป็นผลงานทางวรรณการประเภทหนึ่ง
งานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และเป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
จะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม
พระราชบัญญัตินี้
-- การละเมิดลิขสิทธิ์ --
การ
ละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง : คือ การทำซ้ำ ดัดแปลง
เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์แก่สาธารณชน
รวมทั้งการนำต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวออกให้เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก
เจ้าของลิขสิทธิ์
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม : คือ
การกระทำทางการค้า
หรือการกระทำที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นโดย
ผู้กระทำรู้อยู่แล้ว
ว่า งานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
แต่ก็ยังกระทำเพื่อหากำไรจากงานนั้น ได้แก่ การขาย มีไว้เพื่อขาย ให้เช่า
เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เสนอให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน
แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์และนำหรือ
สั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
แหล่งที่มา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
http://www.learners.in.th/blog/khoon-frds/437968
เพิ่มเติม จาก
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
นันทน อินทนนท์ *อ้างอิง
ข้อความส่วนหนึ่ง จากหัวข้อ 2. หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ (กฏหมายประเทศไทย)
"มี
ข้อพึงคำนึงว่า
การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์
นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เสมอไป
เพราะกฎหมายมีข้อยกเว้นสำหรับการกระทำบางประเภทที่ไม่ถือว่าการกระทำนั้น
เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อการศึกษาวิจัย
หรือการเสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนที่มีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ
ลิขสิทธิ์ในงานนั้น เป็นต้น แต่ทั้งนี้
การกระทำเหล่านี้จะต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้าของ
ลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์
เกินสมควรด้วย"