27 September 2011

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
นันทน  อินทนนท์*

ข้อความส่วนหนึ่ง จากหัวข้อ 2. หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
กฏหมายประเทศไทย)
มี ข้อพึงคำนึงว่า การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เสมอไป เพราะกฎหมายมีข้อยกเว้นสำหรับการกระทำบางประเภทที่ไม่ถือว่าการกระทำนั้น เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อการศึกษาวิจัย หรือการเสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนที่มีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น เป็นต้น แต่ทั้งนี้ การกระทำเหล่านี้จะต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้าของ ลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์ เกินสมควรด้วย

ข้อความส่วนหนึ่งจาก หัวข้อ 3. การคุ้มครองลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต
(สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ (WIPO Copyright Treaty) และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง (WIPO Performances and Phonograms Treaty)

โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมโยงข้อมูลภายนอกมักไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่เจ้าของเว็บไซต์ที่ถูกเชื่อมโยงข้อมูลมากนัก เพราะโดยปกติแล้วเจ้าของเว็บไซต์ต่างๆ มักต้องการให้เว็บไซต์อื่นเชื่อมโยงให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้ามาที่เว็บไซต์ของตนเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของตนเองได้ ซึ่งจะทำให้เจ้าของเว็บไซต์นั้นมีโอกาสในการโฆษณาสินค้าหรือบริการของตนเองหรือของบุคคลอื่นที่โฆษณาในเว็บเพจของตนเองได้มากที่สุด แต่ในบางกรณีเจ้าของเว็บไซต์บางแห่งก็ไม่ต้องการให้เว็บไซต์อื่นสร้างลิ้งค์เพื่อเชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของตนเอง 

คดีเกี่ยวกับการเชื่อมโยงแบบลึกเคยเกิดขึ้นที่ประเทศสก๊อตแลนด์ ในคดี Shetland Times Ltd. v. Wills[14] จำเลยคือ Shetland News เป็นเจ้าของเว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารต่างๆ ได้จัดทำหัวข้อข่าวในแต่ละวันโดยลอกข้อความมาจากหัวข้อข่าวในเว็บไซต์ของโจทก์คือ Shetland Times โดยจำเลยได้ทำลิ้งค์จากหัวข้อข่าวในเว็บเพจของตนเองให้เชื่อมโยงไปที่เว็บเพจในหน้าข่าวของโจทก์ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงโดยไม่ผ่านเว็บเพจแรกของโจทก์ก่อน ทำให้โจทก์ที่ต้องการขายเนื้อที่โฆษณาในเว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์ได้รับความเสียหาย ในคดีนี้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวไม่ให้จำเลยทำลิ้งค์เชื่อมโยงข้อมูลมายังโจทก์เนื่องจากอาจถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ แต่ท้ายที่สุดทั้งสองฝ่ายก็สามารถตกลงกันได้ก่อนมีคำพิพากษาของศาล ซึ่งจำเลยตกลงไม่ทำลิ้งค์เชื่อมโยงแบบลึกต่อไป ปัญหาว่าการเชื่อมโยงในลักษณะเช่นนี้จะเป็นความผิดหรือไม่จึงยังคลุมเครือ แต่หากตีความกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด การเชื่อมโยงข้อมูลในลักษณะนี้ไม่ควรถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนของเจ้าของลิขสิทธิ์ (หากข้อมูลที่ถูกเชื่อมโยงนั้นอยู่ในข่ายของงานอันมีลิขสิทธิ์) เพราะข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้ถูกเผยแพร่โดยผู้ที่ทำลิ้งค์เชื่อมโยงข้อมูลนั้น แต่เป็นการเผยแพร่ของเจ้าของลิขสิทธิ์เอง โดยที่ผู้ที่ทำลิ้งค์ช่วยให้ความสะดวกในการเผยแพร่ข้อมูลนั้นเท่านั้น  

นอก จากนี้ เหตุผลอีกประการหนึ่งที่อาจถือว่าการเชื่อมโยงข้อมูลแบบลึกไม่เป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ก็คือ ในการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์ล้วนแต่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลของตนเองให้ปรากฏต่อสาธารณชน ให้มากที่สุด และด้วยลักษณะโครงสร้างการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มักจะต้องมีการเชื่อมโยง ข้อมูลกัน การนำงานอันมีลิขสิทธิ์ขึ้นแสดงไว้ในเว็บไซต์จึงอาจถือว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้ให้ความยินยอมแก่เจ้าของเว็บไซต์อื่นในการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ของตน ออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยปริยาย (Implied License) ก็ได้ ดังนั้น การเชื่อมโยงข้อมูลจึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะเจ้าของเว็บไซต์ที่ เชื่อมโยงนั้นได้รับความยินยอมโดยปริยายจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...